เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นมหัคคตะแล้วทำฌานที่เป็น
อัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่เป็น
มหัคคตะ ... ปัญญาแล้ว ทําฌานที่เป็นอัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น
ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นมหัคคตะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น
อัปปมาณะ ... ปัญญา ... มรรค ... ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (3)
[74] สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะแล้วทําฌานที่
เป็นอัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้เกิดขึ้น ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่
เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาแล้ว ทําฌานที่เป็นอัปปมาณะให้เกิดขึ้น ทำมรรคให้
เกิดขึ้น ทำผลสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาเป็นปัจจัย
แก่ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย ปฐมมรรคเป็นปัจจัย
แก่ทุติยมรรค ... ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ฯลฯ มรรคเป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะแล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ... ทําวิปัสสนาให้เกิดขึ้นอาศัยศีลที่เป็นอัปปมาณะ ...
ปัญญาแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ... ทําวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ...
ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นปริตตะ ... ปัญญา ...
สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย
โดยอุปนิสสยปัจจัย พระอริยะอาศัยมรรคแล้วเห็นแจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :446 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 12. ปริตตติกะ 7. ปัญหาวาร
ฯลฯ มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ฯลฯ ธัมมปฏิสัมภิทา ฯลฯ
นิรุตติปฏิสัมภิทา ฯลฯ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯลฯ ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและ
มิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นอัปปมาณะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดย
อุปนิสสยปัจจัยมี 2 อย่างคือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะแล้วทําฌานที่เป็น
มหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่เป็น
อัปปมาณะ ... ปัญญา แล้วทําฌานที่เป็นมหัคคตะให้เกิดขึ้น ทำอภิญญาให้เกิดขึ้น
ทำสมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นอัปปมาณะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็น
มหัคคตะ ... ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย พระอริยะอาศัยมรรคแล้วทําสมาบัติที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว (3)

ปุเรชาตปัจจัย
[75] สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นปริตตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ...
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุนั้น ราคะจึงเกิดขึ้น ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น เห็นแจ้งโสตะ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นปริตตะโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นปริตตะเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นมหัคคตะโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 41 หน้า :447 }